สวัสดีปีใหม่ 2553


วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรี

โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรี
http://www.rdpb.go.th/thai/important/0030/0030.html
โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สถานที่ดำเนินการ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระราชดำริ ให้จัดทำแนวเขตวนอุทยานให้ชัดเจน ตรวจสอบหลักฐานการถือครองที่ดินภายในวนอุทยาน
และพื้นที่ข้างเคียง และรักษาพื้นที่ป่าไม้ให้คงอยู่ต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ 1) การจัดทำเครื่องหมายแสดงแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ เพื่อให้ทราบถึงแนวเขตวนอุทยานปราณบุรี
ป่าสงวนแห่งชาติคลองเก่า-คลองคอย พร้อมทั้งสำรวจตรวจสอบหลักฐานการ ถือครองที่ดิน
ของราษฎรในพื้นที่โครงการ และข้างเคียงเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่
2)จัดตั้งจุดพิทักษ์วนอุทยาน จำนวน 4 จุด เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ และป่าชายเลน
บริเวณพื้นที่วนอุทยานปราณบุรี
3) การปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวนอุทยาน เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติ
และระบบนิเวศป่าชายเลน สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความรัก และเห็นคุณค่าของธรรมชาติ
4) การฟื้นฟูป่าชายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติคลองเก่า-คลองคอย เนื้อที่ 1,000 ไร่ เพื่อฟื้นฟู
สภาพพื้นที่ซึ่งเป็นนากุ้งเดิมให้มีสภาพเป็นป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์
หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรี กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประโยชน์ของโครงการ 1. สามารถป้องกันรักษาพื้นที่วนอุทยานให้คงอยู่ต่อไป
2. ทำให้มีแนวเขตวนอุทยานที่ชัดเจน ซึ่งง่ายต่อการดูแลรักษา
3. สามารถรักษาสภาพแวดล้อมและป่าชายเลนให้มีความสมดุลย์ ของระบบนิเวศน์
4. เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชน

ผลการดำเนินงาน 1) โครงการจัดทำเครื่องหมายแสดงแนวเขตรอบพื้นที่วนอุทยานปราณบุรี
และป่าสงวนแห่งชาติคลองเก่า-คลองคอย เนื้อที่ 1,984 ไร่ ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการทำรังวัด
แนวเขต และทำหลักเขตวนอุทยานเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2) ที่ดินในเขตวนอุทยานปราณบุรี ที่มีเอกชนครอบครอง จำนวน 2 ราย คือ ที่ดินของนายวิชิต
วิกรานตโนรส เนื้อที่ 25 ไร่ มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดิน และของบริษัทภัทร เรียลเอสเตส จำกัด
โดยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) เนื้อที่ 39 ไร่ ซึ่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา
ที่ดินระดับจังหวัด โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ม.ล.ประทีป จรูญโรจน์)
เป็น ประธาน ได้พิจารณาตรวจสอบแล้วปรากฎว่าเป็นเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบตามกฎหมาย
และได้ นำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพิจารณาเพิกถอนเอกสารสิทธิ์
ของที่ดินทั้ง 2 ราย ดังกล่าวแล้ว และคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมตรวจสอบ
พิจารณาที่ดินดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้กรมป่าไม้ผู้เป็นเจ้าของ
หรือผู้ดูแลใช้ประโยชน์ดำเนินการ ฟ้องร้องกับเจ้าของที่ดิน สำหรับที่ดินที่อยู่บริเวณ
นอกเขตวนอุทยาน ซึ่งเป็นของบริษัทปราณบุรี เรียลเอสเตส จำกัด มีเนื้อที่ประมาณ 250 ไร่
ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า เอกสารสิทธิ์โดยมิชอบตามกฎหมาย
และจากการประชุมเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2541 ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ดำเนินการตรวจสภาพ และรวบรวมข้อเท็จจริง เพิ่มเติม โดยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เพื่อนำเสนอต่อกรมที่ดิน เพื่อพิจารณานำผลการพิจารณา มาประกอบดำเนินการ
ตามอำนาจหน้าที่ของจังหวัดต่อไป
3) ในปี 2540 กรมป่าไม้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กปร. เพื่อดำเนินการก่อสร้าง
จุดพิทักษ์วนอุทยาน จำนวน 4 จุด และการจัดทำทางเดินศึกษาธรรมชาติในป่าชายเลนระยะทาง
1,000 เมตร พร้อมซุ้มสื่อความหมาย จำนวน 5 ซุ้ม ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างทางเดิน
ดังกล่าวไปแล้ว 400 เมตร และซุ้มสื่อความหมาย จำนวน 2 ซุ้ม ซึ่งตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จ
ในปลายเดือนมกราคม 2542 นอกจากนี้ สโมสรไลออนส์ กรุงเทพ (คอสโมโปลแตน) ร่วมกับ
สโมสรไลออนส์ แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ให้การสนับสนุนในการดำเนินการก่อสร้างอาคาร พร้อมทั้ง
อุปกรณ์เพื่อใช้จัดแสดงนิทรรศการและประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยวในการให้
ความรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการฯ ให้แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมโครงการฯ ซึ่งขณะนี้ได้
ดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการจัดหาอุปกรณ์ เพื่อใช้
ในการดำเนินงาน
4) การฟื้นฟูป่าชายเลน ได้ดำเนินการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ซึ่งเป็นนากุ้งเดิม มีเนื้อที่จำนวน 1,000 ไร่
ในเขตป่าสงวนแห่งชาติคลองเก่า-คลองคอย โดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการ
ปลูกป่าชายเลนไปแล้ว ได้ดำเนินการปลูกป่าเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรม คืออะไร?






นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร






นวัตกรรม
มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ในยุคแรกๆ จะพูดถึงอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ๆ เท่านั้น ต่อมา โรเจอร์ ได้เริ่มกล่าวถึง การแพร่กระจายของนวัตกรรมด้วย Diffusion of Innovation อย่างไรก็ดี คำจำกัดความที่ดูเหมือนจะครอบคลุมที่สุด คือ Invention + Commercialization หรือ ต้องมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าใหม่ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ทั้งทางธุรกิจ หรือ ทางสังคม ทั้งนี้รูปแบบของนวัตกรรม ก็สามารถแบ่งออกเป็นได้ตามรูปแบบ (Product, Service, Process) หรือ อาจแบ่งตามระดับความใหม่ก็ได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ Incremental, Modular, Architectural และ Radical Innovation Teerapon.T (2008) กล่าวถึง Innovation หรือ นวัตกรรมว่า อาจหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรือ สิ่งใหม่ ที่ต้องสร้างให้เกิด Value Creation คือ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั่นเอง


ทำไมต้องมี..."นวัตกรรม" ? (ความสำคัญของนวัตกรรม)

“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้า ยิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542
นวัตกรรมคืออะไร? เหตุใดคนเราจึงจำเป็นต้องมีนวัตกรรม?
คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528)
ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ
การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น Everette M. Rogers ได้ชี้ให้เห็นว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่ อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness) อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้ ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้
ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อนเลย
2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม



การเกิดนวัตกรรม



การเกิดนวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน คือ1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่(invention)2. มีการพัฒนาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการทดลองวิจัย(devellopment)3. มีการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงแต่ยังไม่แพร่หลาย(innovation)



ความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษามาใช้



1. คุณภาพของผลผลิตการศึกษาไม่สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกได้2. โลกและสังคมเปลี่ยนไป3. วิธีการเรียนรู้เปลี่ยนไป4. อาชีพและวิธีการทำงานเปลี่ยนไป5. ข้อมูลและวิธีการสื่อสารเปลี่ยนไป6. เทคโนโลยีเปลี่ยนไป 7. ความก้าวหน้าทางวิทยาการก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และไม่ขาดสายทำให้คนต้องศึกษาตลอดชีวิต8. การศึกษาที่ผ่านมาสร้างลักษณะของเด็กไทยไม่พึงประสงค์ดังนี้ - ไม่กล้าพูดแสดงความคิดเห็น แสดงออก - ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ - ไม่รู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ - ขาดน้ำใจ ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น - ไม่สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้ เรียนเพื่อจำ สอบ เอาวุฒิบัตร - ขาดจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย9.วิธีการเรียนรู้ยังเน้นเนื้อหาเป็นสำคัญ10. วิธีการสอนยังยึดครูเป็นสำคัญ11. การวัดและประเมินผลยังขาดมาตรฐานและไม่วัดตามสภาพจริง (Authentic)



วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
กับการแก้ปัญหาสังคม


พัฒนาสังคมและสวัสดิการ
เรื่อง: กองบรรณาธิการ *
1. การทำพอประมาณ 2. การมีเหตุผล
3. ทำอะไรต้องมีภูมิคุ้มกัน คือ ทำแบบมีหลักการ ทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. การศึกษาครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตามแนวพระราชดำริกับการแก้ปัญหาในสังคม ให้ประชาชนทุกคนสามารถ นำหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2. แนวทางการสร้างชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง
รักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติ
ต่างๆ ตลอดจนสามารถปรับตัว พร้อมรับต่อการ
เปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน และแก้ไข
ปัญหาสังคมต่างๆ ได้
3. เป็นการสร้างเสริมพลังทุกภาคส่วนให้
สามารถพัฒนาไปได้หลากหลายรูปแบบ ภายใต้กระแส
โลกาภิวัตน์
ขอบเขตของการศึกษาจะศึกษาถึง
1. “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ปัญหาในสังคม”
2. การพัฒนาที่ยังยืนด้วยกระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง
3. การวิเคราะห์ (Analyze) และสังเคราะห์ (Synthesize) องค์ความรู้ข้อที่ 1 และ 2 มาเป็นแนวทาง
การใช้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการแก้ไขปัญหาสังคม
กรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ภายใต้กรอบแนวคิด
“3 ห่วง 2 เงื่อนไข” กล่าวคือ 3 ห่วง ประกอบไปด้วย ความ
พอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดย
ที่ ทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 เงื่อน คือ การมีความรู้ และคุณธรรม
ดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างสมดุล และให้ยั่งยืน
การทบทวนความรู้เกี่ยวกับ
ปัญหาสังคมทฤษฎีแนวทาง
พัฒนาและแก้ไขปัญหา
การทบทวน
ความรู้หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
รูปธรรมการแก้ไขปัญหา
โดยใช้พื้นฐานของ
เศรษฐกิจพอเพียงและ
กลไกชุมชนเข้มแข็ง
บทวิเคราะห์แนวทางการ
ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง เพื่อแก้ไข
ปัญหาสังคม
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันที่ดี
พอประมาณ
ความสมดุลและยั่งยืน



พอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
จากพระราชดำรัสด้านความประหยัด ประมาณ รู้ว่าสิ่งใดควรจ่ายออกไป
และสิ่งใดควรรักษาไว้ โดยใช้การประมาณ ทั้งประมาณตน และ
ประมาณสถานการณ์
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของ
ความ พอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดย พิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจน คำนึงถึงผลที่
คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ รู้จักประมาณตน และประมาณสถานการณ์ ประการสำคัญ
คือต้องพิจารณาอย่างมีเหตุมีผล โดยใช้ความเป็นกลาง เที่ยงตรง ปราศจากอคติ พิจารณาเหตุผลได้รอบด้าน
และมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบที่สุด
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว จึงหมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล สามารถ
ประมาณได้อย่างเหมาะสมเพราะ ไม่ประมาทมีการเตรียมพร้อม ตรวจสอบ
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ อยู่เสมอ เช่นเดียวกับการ มีภูมิคุ้มกันที่ดี อย่างเช่น
ความมีสติรู้ และความสงบภายในใจอยู่เสมอ
พระเจ้าอยู่หัวพระราชดำรัสถึงความสามัคคี ให้ยึดเหนี่ยวไว้ในยาม
สังคมมีความเปลี่ยนแปลง ความสามัคคีก็คือภูมิคุ้มกันหนึ่ง ที่จะช่วยให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องมี
เงื่อนไข 2 เงื่อนไข คือ อาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน เงื่อนไข
ความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง
รอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยง
กัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ การ
เรียนรู้ อย่างรอบด้านคือ การเรียนรู้ตั้งแต่ รู้ เข้าใจ และประยุกต์ หรือ
บูรณาการใช้ รู้ คือ รู้ในหลักวิชาตามที่ได้ศึกษามาเป็นอย่างดี จากนั้นจึง
นำมาพิจารณาให้เกิดการเข้าใจกลายเป็นความรู้ของตนเอง และนำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์
เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรม
มีความ ซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญา ในการ
ดำเนินชีวิต และคุณธรรมต่างๆ ที่ช่วยกำกับการดำเนินชีวิตให้อยู่ในครรลอง
ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความ รับผิดชอบ ความ
เสียสละ ฯลฯ
ก่อนที่จะทำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการแก้ปัญหาชุมชน และสังคม ใคร่ขอ
กล่าวถึง สถานการณ์ปัญหาสังคมในปัจจุบันก่อนที่จะนำเสนอแนวทางการแก้ไขต่อไป
สถานการณ์ปัญหาสังคม ในที่นี้จะแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ปัญหาเชิงโครงสร้าง
2. ปัญหาที่สั่งสม
3. ปัญหาที่มาจากผลกระทบโลกาภิวัตน์
1.ปัญหาเชิงโครงสร้าง
โครงสร้างประชากรไทยผู้สูงอายุ จะมีมากขึ้น เด็กจะน้อยลง คนวัยทำงานจะเริ่มลด
น้อยลง ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 สังคมไทย จะเริ่มเข้าสังคม
ผู้สูงอายุเต็มรูป อันหมายถึง สังคมมีภาระพึ่งพิงสูงขึ้น ดังนั้น
สังคมจะมีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น
สภาพความเป็นเมือง ขยายตัวค่อนข้างสูง โดยเพิ่ม
จากร้อยละ 33 เป็น ร้อยละ 40 ในปี พ.ศ. 2533 ความเป็น
เมือง มีผลกระทบทางสังคมเชิงลบหลายด้าน เช่น
ความสัมพันธ์ ในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวทั้งพ่อและ
แม่ทำงานนอกบ้าน ลูกถูกเลี้ยงด้วย TV คอมพิวเตอร์ เด็ก
อยู่กับเพื่อนมากกว่า
2. ปัญหาที่สั่งสม
ด้านการศึกษา เด็กไทยมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ จำนวนปี
การศึกษา โดยเฉลี่ยของคนไทย ยังไม่ถึง 9 ปี ทั้งที่เมื่อสิ้นสุด
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 กำหนดไว้ 9.5 ปี
นอกจากนั้นยังพบเด็กเร่ร่อน เด็กไร้สัญชาติ เด็กถูกทอดทิ้ง
จำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา
ด้านสุขภาพ แม้ว่าจะมีหลักประกันสุขภาพ แต่คุณภาพ
การจัดบริการ ยังต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ที่สำคัญทำ
อย่างไรให้คนมีสุขภาพดี โดยไม่ต้องพึ่งพาโรงพยาบาลมากนัก
ควรเน้นให้ มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ปัญหายาเสพติด ปัจจุบันลดน้อยลงระดับหนึ่ง แต่มีการเปลี่ยนรูปแบบ การเสพและการ
เปลี่ยนแปลงตัวยาชนิดอื่นๆ
3.ปัญหาที่มาจากผลกระทบโลกาภิวัตน์
สังคมไทยเป็นสังคมเปิดกว้าง ยอมรับสิ่งต่างๆ เร็วและมาก โดยขาดภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ รับโดยไม่รู้เท่า
ทัน
กรอบแนวคิดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เป็นแนวทาง
แต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้นำกรอบเศรษฐกิจพอเพียงมาแปลงสู่การปฏิบัติ โดยยังคงให้ คนเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนา ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคี การพัฒนา เพราะฉะนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึง
มิใช่มองเพียงบทบาทภาครัฐเท่านั้น แต่มองถึงภาคี การพัฒนาต่างๆ ซึ่งได้ร่วมกันสรุปวิสัยทัศน์ของ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ว่า “สังคมมีความสุขอย่างยั่งยืน ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่การปฏิบัติ”
และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคนและสังคม สู่สังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก
แนวทางที่ 1 การพัฒนาเด็กตามวัย ด้านทักษะชีวิต และความรู้พื้นฐาน ต้องให้ความรู้
ผู้ปกครอง ตลอดจนส่งเสริมให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุได้ สร้างการเรียนรู้
ด้านศีลธรรม จริยธรรม ด้วยการบ่มเพาะระดับครอบครัว เมื่อเด็กและเยาวชนเข้า
สู่ระบบโรงเรียน ต้องได้รับการพัฒนาด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และ
ศีลธรรม
แนวทางที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการทำงาน เพื่อรองรับการแข่งขัน
ของประเทศ เชื่อมโยงเศรษฐกิจและสังคมอย่างสมดุล เสริมทักษะการ
วิเคราะห์การทำงานเป็นทีม
แนวทางที่ 3 การเร่งสร้างกำลังคนที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ ด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน
ฐานความรู้ของประชากร
แนวทางที่ 4 การจัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและหลากหลาย จำเป็นต้องมีการจัดการความรู้
ในระดับชุมชน ภูมิภาค และประเทศ ครอบคลุมหลายมิติ ทั้งภาคเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต ที่ครอบคลุมสุขภาพ การคุ้มครองทางสังคม
ความปลอดภัยในชีวิตและการจัดสวัสดิการด้วยกระบวนการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมความเข้มแข็งของชุมชน จะประกอบด้วยแนวทาง 4 แนวทาง
แนวทางที่ 1 การจัดการความรู้ และระบบการเรียนรู้ ของชุมชน อย่างครอบวงจร โดยเน้น
ให้ชุมชนมีโอกาสอย่างกว้างขวาง
แนวทางที่ 2 การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะบูรณาการกระบวนการผลิตบน
ศักยภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนอย่างสมดุล เน้นการผลิตเพื่อการ
บริโภคอย่างพอเพียง
แนวทางที่ 3 การเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ในการอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูลกัน
แนวทางที่ 4 พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ดุลยภาพการพัฒนาชุมชน โดยใช้แผนแม่บท
ชุมชน เป็นกลไกที่สำคัญ และพัฒนาสื่อเพื่อการพัฒนาให้มากขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล และสามารถแข่งขันในช่วงทศวรรษ
แห่ง เอเชีย
ยุทธศาสตร์นี้มุ่งพัฒนาด้านการเงิน การคลัง และประสิทธิภาพการบริหารการเงิน
การคลัง ตลาดทุน สถาบันการเงิน การจัดเก็บรายได้และการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบนพื้นฐาน ความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงของ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีความได้เปรียบมากกว่า
หลายประเทศ จึงกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ขึ้นพร้อมกับการฟื้นฟูสภาพ ดิน น้ำ ป่า พื้นที่
ชายฝั่งทะเล และต้องเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน
กลไกต่างๆ ของรัฐ ต้องมีการปรับโครงสร้าง ให้มีการกระจาย การจัดสรรทรัพยากรสู่
ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน ด้วยระบบการบริหารยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ
สังคมไทยที่พึงปรารถนา
สังคม คือ การอยู่ร่วมกัน การอยู่ร่วมกันด้วยดีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ฉะนั้นคนไทยต้องร่วมคิด
ร่วมสร้างสังคม
ที่พึงปรารถนา
สังคมไทยที่พึงปรารถนา คือ สังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
สังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน หมายถึง สังคมแห่งความพอเพียงและสันติ มีเศรษฐกิจ
พอเพียง
ไม่ทอดทิ้งกัน มีความเป็นธรรม มีวัฒนธรรม มีคุณธรรม มีความเข้มแข็งทางสังคม และสามารถรักษาความ
สมดุลในตัวเอง
หลัก 8 ประการ แห่งสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
สังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มีหลัก 8 ประการ ตามภาพข้างล่าง ดังต่อไปนี้
1. เป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน 2. มีเศรษฐกิจพอเพียง 3. มีการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
4. มีการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 5. มีความเป็นธรรมทางสังคม
6. มีสันติภาพ 7. มีการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น 8. ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชีวิต “ชีวิตต้องรู้จักพอ” โดยธรรมชาติมนุษย์ มีปัญญามาก
มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การควบคุมความคิดให้รู้จักพอ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ผู้ที่ต้องการปฏิบัติตนอย่างเศรษฐกิจพอเพียง
• ต้องคิดให้ตรงกัน คือ ต้องรู้จักพอ เห็นความทุกข์ของการไม่รู้จักพอ ผู้รู้จักพอย่อมมี
ความสุขมากกว่า
ผู้ไม่รู้จักพอ ผู้ไม่รู้จักพอจะตื่นเต้นในการหาทรัพย์และใช้จ่ายทรัพย์ จนครอบครัวไม่อบอุ่น
แตกแยก พักผ่อน
ไม่พอ จิตกังวล นอนไม่หลับ
• คนคิด รู้จักพอ ชีวิตสงบสุข ครอบครัวอบอุ่น กินอร่อย หลับสนิท ไม่ทุรนทุรายกับการ
แสวงหาทรัพย์
อย่างไม่รู้จักพอ
5. ความเป็นธรรมทางสังคม
4. เคารพศักดิ์ศรีและ
คุณค่าแห่งความเป็นคน 6. สันติภาพ
3. ใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
สังคมอยู่เย็น
เป็นสขร่วมกัน 7. พัฒนา
จิตใจให้สูงขึ้น
2. เศรษฐกิจพอเพียง 1. ไม่ทอดทิ้งกัน 8. ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
และประชาสังคม
ลักษณะของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
1.) ต้องพึ่งตัวเองให้มากที่สุด 2.) ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดผลคุ้มค่าที่สุด
3.) ไม่ผลิตหรือบริโภคเกินกำลัง แสวงหาความพอเหมาะพอดีที่ได้สมดุล
4.) ต่างมีส่วนร่วม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ข้อดีของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
1. มีความเครียดน้อยกว่าการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจการตลาด เพราะมีภาวะ หนี้สินน้อย ไม่ต้อง
ทำงานเกินกำลัง
2. ไม่เกิดปัญหาเดือดร้อนจากปัจจัยภายนอก ราคาปุ๋ยแพงขึ้น ก็ไม่เดือดร้อน
3. เป็นอิสระจากอิทธิพลต่างประเทศ มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าเศรษฐกิจการตลาด
4. ไม่มีปัญหาการตกงาน
5. ปัจเจกบุคคลและสังคม สงบร่มเย็น แต่ละคนไม่เอาเปรียบกัน
6. ทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เพราะไม่เร่งการผลิต
แต่ที่สำคัญข้อเสียของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเศรษฐกิจการค้า ซึ่งทำให้การ
เติบโตทางวัตถุของแต่ละคน ครอบครัว และประเทศชาติช้า และทำให้ต้องหลุดจากกระแสการแข่งขันของ
โลก
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาต้องส่งเสริมความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิในครอบครัวและ
ชุมชน
2. รัฐจะต้องพัฒนากลไกเกี่ยวกับการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
3. รัฐจะต้องพัฒนาสถาบัน พัฒนาผู้นำชุมชนตัวแบบกลุ่มชุมชนต่างๆ ที่ดำเนินการด้านเศรษฐกิจ
พอเพียง ที่สำเร็จแล้ว เพื่อนำสู่การขยายผล
4. รัฐจะต้องส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนชุมชน โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการของแผน
5. รัฐจะต้องส่งเสริมการพัฒนาความสมดุลระหว่างวัตถุกับจิตใจ
6. รัฐจะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้หรือให้ชุมชนเรียนรู้ ด้านการดำเนินชีวิต
แบบเศรษฐกิจพอเพียง
7. รัฐจะต้องมีการส่งเสริมศึกษาตัวชี้วัดการพัฒนาที่หลากหลาย
8. รัฐควรสนับสนุนกระบวนการพัฒนาที่เป็นรูปแบบการทำงานแบบพหุภาคี ซึ่งเอาคนและ
ชุมชนเป็นศูนย์กลาง
9. ต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส มุ่งแก้ปัญหาอย่างครบ
10. รณรงค์ ส่งเสริม การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ในสถาบันการศึกษาและสถาบันทางศาสนา
อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในเชิงปฏิบัติ
1. ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนการรื้อฟื้น ฟื้นฟู และเพิ่มศักยภาพของครอบครัว ชุมชน ให้มี
ความเข้มแข็งสู่การพัฒนา การอยู่ดีมีสุข
2. ต้องร่วมกำหนดแนวทางการปฏิบัติการส่งเสริม การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในหลาย
ระดับ ตั้งแต่ ปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน สถาบัน องค์กรประชาชน ภาคธุรกิจ
ประเทศชาติ
3. ต้องร่วมมือหลายฝ่าย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้มากขึ้น
4. ควรมีการเพิ่มเติมศึกษา วิจัย ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และควรศึกษา
แนวทางการพัฒนามนุษย์ การแก้ไขปัญหาสังคมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
อย่างไรก็ตามหากทุกคนเริ่มต้นที่ตนเองน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับตนเองใน
การดำรงชีวิตแล้ว ขยายผลสู่คนใกล้ชิด ครอบครัว เพื่อนบ้าน แล้วสู่ชุมชน ในที่สุดสังคมนั้นๆ ร่วมมือกันยึดถือ
เป็นแนวปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป สังคมนั้นๆ ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็น มีความเข้มแข็ง ปราศจากปัญหา
สังคม มีเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสุขอย่างที่ไม่ต้องเบียดเบียนใคร

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดนนทบุรี
1. ชื่อโครงการ ก่อสร้างประตูระบายน้ำป้องกันน้ำท่วมและน้ำเค็ม จังหวัดนนทบุรี
2. ที่ตั้งโครงการ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
3. พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการ
ซึ่งราษฎรตำบลบางไผ่ ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างประตูป้องกันน้ำท่วม
และน้ำเค็มในพื้นที่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 005/
05202 ลงวันที่ 10 เมษายน 2545
4. สรุปพระราชดำริ จากการที่ราษฎรฎีกาขอพระราชทานพระมหากรุณา โครงการก่อสร้างประตู
ป้องกันน้ำท่วมและน้ำเค็ม ในเขตพื้นที่ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัด
นนทบุรี ว่าเป็นโครงการที่มีความเหมาะสมสามารถดำเนินการได้ และอยู่ใน
โครงการป้องกันน้ำท่วมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งยังดำเนินการไม่
แล้วเสร็จสมบูรณ์ บัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ
รับโครงการในส่วนของการก่อสร้างประตูระบายน้ำเขตตำบลบางไผ่ ไว้เป็น
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้ว
5. วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและน้ำเค็มหนุนเข้าพื้นที่การเกษตร และที่อยู่อาศัยของ
ราษฎร ในเขตพื้นที่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
6. หน่วยงานที่รับผิดชอบ โครงการก่อสร้าง 1/11 และโครงการชลประทานนนทบุรี กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
7. ประเภทของโครงการ เป็นโครงการประเภทพัฒนาแหล่งน้ำ โดยดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำ
ป้องกันน้ำท่วมและน้ำเค็ม ในเขตพื้นที่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัด
นนทบุรี
8. สรุปลักษณะของโครงการ - ก่อสร้างประตูระบายน้ำ ขนาด 4.00 เมตร บริเวณปากคลองบางไผ่ใหญ่
- ก่อสร้างประตูน้ำ ขนาด 4.00 เมตร และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 0.50
เมตร/วินาที บริเวณปากคลองบางไผ่น้อย จำนวน 2 เครื่อง
9. ปีงบประมาณเริ่ม ปีงบประมาณ พ.ศ.2546
ดำเนินการ
10. งบประมาณที่ได้รับ 22,410,500 บาท ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ
ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
11. งบประมาณที่ได้รับแต่ละปี - 2
12. ผลการดำเนินงาน 1. สามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและน้ำเค็มที่หนุนเข้าสู่พื้นที่โครงการ
ช่วยลดความเดือดร้อนของราษฎร ได้ประมาณ 5,490 ราย
2. มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินค่อนข้างสูง ทำให้ราคาที่ดิน
ปรับตัวสูงขึ้น
3. ทำให้ระบบนิเวศน์ บริเวณปากคลองบางไผ่ใหญ่ และคลองบางไผ่น้อย
ดีขึ้น
4. สร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ราษฎรในพื้นที่ ทั้งทางด้านการประกอบอาชีพ
การดำรงชีวิตประจำวัน และสภาพจิตใจ

โครงการแก้มลิง



โครงการแก้มลิง



"โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอก คลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืช โครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนักและส่งผลกระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณ กรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการกินอาหารของลิง หลังจากที่ลิงเคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้าง แล้วค่อย ๆ ดุน กล้วยมากินในภายหลัง เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน ให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิง สำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเล ด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลอง สรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป
สำหรับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ
ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคัน กั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ "แก้มลิง" มีลักษณะและวิธีการดังนี้
๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)
หลักการ ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้งลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจารณา
๑. สถานที่ที่จะทำหน้ าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
"โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ใช้คลองชายทะเลตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ ส่วน "โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ


โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ
๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนว พระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา




http://www.iloveking.net/project_soil1.aspx
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แห่งแรก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 อีกทั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture) แห่งหนึ่ง มีพื้นที่ดำเนินการจำนวน 1,895 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ฯ จำนวน 1,240 ไร่ และพื้นที่โครงการส่วนพระองค์เขาหินซ้อนฯ จำนวน 655 ไร่ ดำเนินการพัฒนาทางด้านการเกษตรอย่างสมบูรณ์แบบ โดยเน้นการปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของดินและน้ำให้มีความสมบูรณ์ เนื่องจากสภาพพื้นที่แห่งนี้มีการตัดไม้ แล้วปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ทำให้ดินจืด และเสื่อมคุณภาพจนกลายเป็นดินทราย ในฤดูแล้วจะมีการชะล้าง เนื่องจากลมพัด (Wind erosion) ในฤดูฝนจะมีการชะล้างเนื่องจากน้ำเซาะ (Water erosion) ทำให้หน้าดินถูกทำลายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้ทำการฟื้นฟูสภาพของดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิชาการในหลายๆ ด้าน ประกอบกันเป็นการดำเนินการแก้ไขในลักษณะผสมผสานของหลายๆ หน่วยงานแบบบูรณาการ โดยดำเนินการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชแซม การป้องกันศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ การศึกษาความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกไม้ผล การฟื้นฟูสภาพป่า การบำรุงพันธุ์ไม้เดิม ไม้มีค่าหายาก และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ การจัดทำสวนสมุนไพร การรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าหายากในภาคตะวันออก การสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง การสาธิตการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวยงาม ซึ่งราษฎรสามารถนำไปประกอบอาชีพเป็นรายได้เสริม นอกเหนือจากการทำการเกษตร รวมทั้งแนะนำส่งเสริมระบบสหกรณ์ให้แก่เกษตรกร การให้บริการสีข้าว ฝึกอบรมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย อันจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงสมบูรณ์ต่อไป
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติพื้นฐาน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประกอบการเกษตรได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ กล่าวคือได้จัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง สร้างสภาพป่าและไม้ยืนต้นในบริเวณโครงการและพื้นที่ข้างเคียงเป็นการปรับสภาพแวดล้อมและเพิ่มความชุ่มชื้นให้มากขึ้น สร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินซึ่งปัจจุบันพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้หญ้าแฝกในการดำเนินการดังกล่าว และปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นหลังจากนั้นได้ศึกษาหาเทคโนโลยีพัฒนาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โดยเน้นวิธีการผสมผสานเป็นการรักษาสมดุลธรรมชาติและประหยัด เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรเข้าศึกษาหาความรู้ นำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองได้ ตลอดจนใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมศึกษาดูงานของผู้สนใจทั่วไป จากนั้นได้ขยายผลออกสู่หมู่บ้านบริเวณรอบศูนย์ให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี



โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี



ที่ตั้งและอาณาเขต
พื้นที่ตั้งโครงการประกอบด้วย ตำบลชะแลทั้งตำบล มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน
ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 2 บ้านเกริงกระเวีย หมู่ที่ 3 บ้านทิพุเย หมู่ที่ 4 บ้านคลิตี้(ทุ่งเสือ
โทน) หมู่ที่ 5 บ้านภูเตย หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งนางครวญ และหมู่ที่ 7 บ้านชะอี้ และตำบลห้วยเขย่ง หมู่ที่ 5
บ้านไร่ป้า โดยมีพื้นที่ประมาณ 1,017,000 ไร่
แบบจัดทำฐานข้อมูลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อโครงการ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอทองผาภูมิ
ที่ตั้งของโครงการ พื้นที่ตั้งโครงการประกอบด้วย ตำบลชะแลทั้งตำบล มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน
ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 2 บ้านเกริงกระเวีย หมู่ที่ 3 บ้านทิพุเย หมู่ที่ 4
บ้านคลิตี้(ทุ่งเสือโทน) หมู่ที่ 5 บ้านภูเตย หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งนางครวญ และหมู่ที่ 7 บ้านชะอี้
และตำบลห้วยเขย่ง หมู่ที่ 5 บ้านไร่ป้า โดยมีพื้นที่ประมาณ 1,017,000 ไร่
พระราชดำริของ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
สรุปพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ส่วนราชการและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือราษฎรในเรื่อง ที่ดินทำกิน ที่อยู่
อาศัย การส่งเสริมอาชีพ และรายได้ให้กับราษฎร รวมถึง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้ลำธาร
วัตถุประสงค์ของ
โครงการ
ช่วยเหลือราษฎรในเรื่อง ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย การส่งเสริมอาชีพ และรายได้ให้กับ
ราษฎร รวมถึง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ลำธาร
หน่วยงานรับผิดชอบ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในอำเภอทองผาภูมิ
ประเภทของโครงการ ส่งเสริมอาชีพ สวัสดิการสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
สรุปลักษณะของ
โครงการ
เป็นโครงการช่วยเหลือราษฎรในเรื่อง ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย การส่งเสริมอาชีพ และ
รายได้ให้กับราษฎร รวมถึง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ลำธาร
ปีงบประมาณเริ่ม
ดำเนินการ
ปี 2540
งบประมาณที่ได้รับในปี
เริ่มต้น และแหล่งที่มา
ของงบประมาณในปีที่
เริ่มต้น
ทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งธนาคารข้าว จำนวน 3 แห่ง แห่งละ 100,000 บาท ที่บ้านทิพุเย
บ้านคลิตี้ และบ้านเกริงกระเวีย
งบประมาณที่ได้รับแต่
ละปีแยกเป็นรายปีตั้งแต่
เริ่มต้นจนถึงปีปัจจุบัน
และแหล่งที่มาของ
งบประมาณ
-ปี 2540 ทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งธนาคารข้าว จำนวน 3 แห่ง แห่งละ 100,000 บาท
-ปี 2542 ทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 15,000 บาท เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการส่งเสริม
การเลี้ยงเป็ดเทศ
-ได้รับการสนับสนุนพันธุ์ไหมจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ ฯ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
- ปี 2551 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์กระทรวงพลังงานได้ทำการติดตั้งระบบ
สูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 2,000 วัตต์ บริเวณ ม.6 บ.ทุ่งนางครวญ งบประมาณ
1,250,000 บาท





ผลการดำเนินงานตั้งแต่
เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
โดยสรุป
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรที่บ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบล
ชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็น
หมู่บ้านเก่าแก่ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อ
สายกะเหรี่ยง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ส่วน
ราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือราษฎรในเรื่อง ที่ดินทำ
กิน ที่อยู่อาศัย การส่งเสริมอาชีพ และรายได้ให้กับราษฎร และเพื่อเป็นแนวทางการ
ดำเนินงานเริ่มต้น ได้ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งธนาคารข้าว จำนวน 3
แห่ง แห่งละ 100,000 บาท ที่บ้านทิพุเย บ้านคลิตี้ และบ้านเกริงกระเวีย โดยจัดสร้าง
ธนาคารข้าวและอีกส่วนหนึ่งจัดซื้อข้าว ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้ทรงพระราชทานเงิน
จัดตั้งธนาคารข้าวอีก จำนวน 1 แห่ง ที่บ้านไร่ป้า หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยเขย่ง
เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2540 คณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้
ประชุมหารือเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและกำหนดพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ โดยที่
ประชุมได้มีมติให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่บ้านทิพุเย และบ้านใกล้เคียง ได้แก่ บ้านห้วย
เสือ บ้านทุ่งนางครวญ บ้านชะอี้ บ้านภูเตย และบ้านเขาพระอินทร์
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 พลโทนพดล วรรธโนทัย ผู้อำนวยการศูนย์
ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ประชุมร่วมกับคณะทำงานโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยที่ประชุมมีมติให้ฝ่ายป่าไม้เร่งรัดติดตาม เรื่อง การมอบ
พื้นที่ป่า บ้านห้วยเสือ บ้านทุ่งนางครวญ บ้านชะอี้ บ้านภูเตย และบ้านเขาพระอินทร์
ให้สำนักงานปฏิรูปที่ดิน ( สปก. ) เร่งรัดดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้กับเกษตรกรต่อไปด้วย
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2542 ที่ประชุมคณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้มีมติให้ผนวกพื้นที่บ้านเกริงกระเวีย บ้านคลิตี้ ตำบลชะแล และบ้านไร่ป้า หมู่ที่ 5
ตำบลห้วยเขย่ง เข้าในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอทองผาภูมิ
เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2545 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงเสด็จเยี่ยม
ราษฎรในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอทองผาภูมิ ณ บ้านคลิตี้ ( บ้านทุ่งเสือโทน )
หมู่ที่ 4 ตำบลชะแล และทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 15,000 บาท
เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเทศ
คณะทำงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้ประชุมหารือเพื่อกำหนดมาตรการ
แก้ไขปัญหาและพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดโครงการต่างๆเพิ่มขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในพื้นที่โครงการ ในปัจจุบันมี
โครงการสำคัญๆ ดังนี้
1. หมู่ 1 บ.ห้วยเสือ กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 4 ครัวเรือน
2. หมู่ 2 บ.เกริงกระเวีย โครงการธนาคารข้าว จำนวน 1 แห่ง
3. หมู่ 3 บ.ทิพุเย
- โครงการธนาคารอาหารชุมชน
- โครงการธนาคารข้าว
- กลุ่มสตรีทอผ้าไหมจกลายศิลป์ จำนวน 18 คน
- ร้านค้าชุมชนชาวเขา สมาชิก จำนวน 352 คน 2,016 หุ้น ๆ ละ 50 บาท
- การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชาวต่างชาติ สมาชิก จำนวน 116 คน
- กลุ่มปลูกพริกไท สมาชิก จำนวน 15 ครัวเรือน
4. หมู่ 4 บ.ทุ่งเสือโทน
- โครงการธนาคารอาหารชุมชน
- โครงการธนาคารข้าว
5. หมู่ 5 บ.ภูเตย ยังไม่มีงานในโครงการ ฯ
6. หมู่ 6 บ.ทุ่งนางครวญ
- กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 25 ครัวเรือน
- กลุ่มสตรีปักผ้าพื้นเมืองชาวเย้า จำนวน 34 คน
7. หมู่ 7 บ.ชะอี้ ยังไม่มีงานในโครงการ ฯ
- ได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกยางพาราจำนวน 41คน คนละ 5ไร่ไร่ละ 350 ต้น
- ขุดบ่อน้ำขนาด ๒๓ x ๓๕ ม. จำนวน 20 บ่อ
- อุทยานแห่งชาติลำคลองงูส่งเสริมให้ราษฎรปลูกไผ่ตง จำนวน 30ไร่
เป็นเงิน45,000 บาท
8. หมู่ 5 บ.ไร่ป้า ต.ห้วยเขย่ง
- โครงการธนาคารข้าว
- กลุ่มสตรีปักประดิษฐ์ลายผ้าด้วยมือ จำนวน 30 คน