สวัสดีปีใหม่ 2553


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
กับการแก้ปัญหาสังคม


พัฒนาสังคมและสวัสดิการ
เรื่อง: กองบรรณาธิการ *
1. การทำพอประมาณ 2. การมีเหตุผล
3. ทำอะไรต้องมีภูมิคุ้มกัน คือ ทำแบบมีหลักการ ทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. การศึกษาครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตามแนวพระราชดำริกับการแก้ปัญหาในสังคม ให้ประชาชนทุกคนสามารถ นำหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2. แนวทางการสร้างชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง
รักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติ
ต่างๆ ตลอดจนสามารถปรับตัว พร้อมรับต่อการ
เปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน และแก้ไข
ปัญหาสังคมต่างๆ ได้
3. เป็นการสร้างเสริมพลังทุกภาคส่วนให้
สามารถพัฒนาไปได้หลากหลายรูปแบบ ภายใต้กระแส
โลกาภิวัตน์
ขอบเขตของการศึกษาจะศึกษาถึง
1. “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ปัญหาในสังคม”
2. การพัฒนาที่ยังยืนด้วยกระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง
3. การวิเคราะห์ (Analyze) และสังเคราะห์ (Synthesize) องค์ความรู้ข้อที่ 1 และ 2 มาเป็นแนวทาง
การใช้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการแก้ไขปัญหาสังคม
กรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ภายใต้กรอบแนวคิด
“3 ห่วง 2 เงื่อนไข” กล่าวคือ 3 ห่วง ประกอบไปด้วย ความ
พอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดย
ที่ ทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 เงื่อน คือ การมีความรู้ และคุณธรรม
ดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างสมดุล และให้ยั่งยืน
การทบทวนความรู้เกี่ยวกับ
ปัญหาสังคมทฤษฎีแนวทาง
พัฒนาและแก้ไขปัญหา
การทบทวน
ความรู้หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
รูปธรรมการแก้ไขปัญหา
โดยใช้พื้นฐานของ
เศรษฐกิจพอเพียงและ
กลไกชุมชนเข้มแข็ง
บทวิเคราะห์แนวทางการ
ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง เพื่อแก้ไข
ปัญหาสังคม
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันที่ดี
พอประมาณ
ความสมดุลและยั่งยืน



พอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
จากพระราชดำรัสด้านความประหยัด ประมาณ รู้ว่าสิ่งใดควรจ่ายออกไป
และสิ่งใดควรรักษาไว้ โดยใช้การประมาณ ทั้งประมาณตน และ
ประมาณสถานการณ์
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของ
ความ พอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดย พิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจน คำนึงถึงผลที่
คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ รู้จักประมาณตน และประมาณสถานการณ์ ประการสำคัญ
คือต้องพิจารณาอย่างมีเหตุมีผล โดยใช้ความเป็นกลาง เที่ยงตรง ปราศจากอคติ พิจารณาเหตุผลได้รอบด้าน
และมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบที่สุด
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว จึงหมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ
เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล สามารถ
ประมาณได้อย่างเหมาะสมเพราะ ไม่ประมาทมีการเตรียมพร้อม ตรวจสอบ
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ อยู่เสมอ เช่นเดียวกับการ มีภูมิคุ้มกันที่ดี อย่างเช่น
ความมีสติรู้ และความสงบภายในใจอยู่เสมอ
พระเจ้าอยู่หัวพระราชดำรัสถึงความสามัคคี ให้ยึดเหนี่ยวไว้ในยาม
สังคมมีความเปลี่ยนแปลง ความสามัคคีก็คือภูมิคุ้มกันหนึ่ง ที่จะช่วยให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องมี
เงื่อนไข 2 เงื่อนไข คือ อาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน เงื่อนไข
ความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง
รอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยง
กัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ การ
เรียนรู้ อย่างรอบด้านคือ การเรียนรู้ตั้งแต่ รู้ เข้าใจ และประยุกต์ หรือ
บูรณาการใช้ รู้ คือ รู้ในหลักวิชาตามที่ได้ศึกษามาเป็นอย่างดี จากนั้นจึง
นำมาพิจารณาให้เกิดการเข้าใจกลายเป็นความรู้ของตนเอง และนำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์
เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วยความตระหนักในคุณธรรม
มีความ ซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญา ในการ
ดำเนินชีวิต และคุณธรรมต่างๆ ที่ช่วยกำกับการดำเนินชีวิตให้อยู่ในครรลอง
ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความ รับผิดชอบ ความ
เสียสละ ฯลฯ
ก่อนที่จะทำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการแก้ปัญหาชุมชน และสังคม ใคร่ขอ
กล่าวถึง สถานการณ์ปัญหาสังคมในปัจจุบันก่อนที่จะนำเสนอแนวทางการแก้ไขต่อไป
สถานการณ์ปัญหาสังคม ในที่นี้จะแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ปัญหาเชิงโครงสร้าง
2. ปัญหาที่สั่งสม
3. ปัญหาที่มาจากผลกระทบโลกาภิวัตน์
1.ปัญหาเชิงโครงสร้าง
โครงสร้างประชากรไทยผู้สูงอายุ จะมีมากขึ้น เด็กจะน้อยลง คนวัยทำงานจะเริ่มลด
น้อยลง ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 สังคมไทย จะเริ่มเข้าสังคม
ผู้สูงอายุเต็มรูป อันหมายถึง สังคมมีภาระพึ่งพิงสูงขึ้น ดังนั้น
สังคมจะมีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น
สภาพความเป็นเมือง ขยายตัวค่อนข้างสูง โดยเพิ่ม
จากร้อยละ 33 เป็น ร้อยละ 40 ในปี พ.ศ. 2533 ความเป็น
เมือง มีผลกระทบทางสังคมเชิงลบหลายด้าน เช่น
ความสัมพันธ์ ในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวทั้งพ่อและ
แม่ทำงานนอกบ้าน ลูกถูกเลี้ยงด้วย TV คอมพิวเตอร์ เด็ก
อยู่กับเพื่อนมากกว่า
2. ปัญหาที่สั่งสม
ด้านการศึกษา เด็กไทยมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ จำนวนปี
การศึกษา โดยเฉลี่ยของคนไทย ยังไม่ถึง 9 ปี ทั้งที่เมื่อสิ้นสุด
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 กำหนดไว้ 9.5 ปี
นอกจากนั้นยังพบเด็กเร่ร่อน เด็กไร้สัญชาติ เด็กถูกทอดทิ้ง
จำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา
ด้านสุขภาพ แม้ว่าจะมีหลักประกันสุขภาพ แต่คุณภาพ
การจัดบริการ ยังต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ที่สำคัญทำ
อย่างไรให้คนมีสุขภาพดี โดยไม่ต้องพึ่งพาโรงพยาบาลมากนัก
ควรเน้นให้ มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ปัญหายาเสพติด ปัจจุบันลดน้อยลงระดับหนึ่ง แต่มีการเปลี่ยนรูปแบบ การเสพและการ
เปลี่ยนแปลงตัวยาชนิดอื่นๆ
3.ปัญหาที่มาจากผลกระทบโลกาภิวัตน์
สังคมไทยเป็นสังคมเปิดกว้าง ยอมรับสิ่งต่างๆ เร็วและมาก โดยขาดภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ รับโดยไม่รู้เท่า
ทัน
กรอบแนวคิดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เป็นแนวทาง
แต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้นำกรอบเศรษฐกิจพอเพียงมาแปลงสู่การปฏิบัติ โดยยังคงให้ คนเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนา ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคี การพัฒนา เพราะฉะนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึง
มิใช่มองเพียงบทบาทภาครัฐเท่านั้น แต่มองถึงภาคี การพัฒนาต่างๆ ซึ่งได้ร่วมกันสรุปวิสัยทัศน์ของ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ว่า “สังคมมีความสุขอย่างยั่งยืน ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่การปฏิบัติ”
และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคนและสังคม สู่สังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 แนวทางหลัก
แนวทางที่ 1 การพัฒนาเด็กตามวัย ด้านทักษะชีวิต และความรู้พื้นฐาน ต้องให้ความรู้
ผู้ปกครอง ตลอดจนส่งเสริมให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุได้ สร้างการเรียนรู้
ด้านศีลธรรม จริยธรรม ด้วยการบ่มเพาะระดับครอบครัว เมื่อเด็กและเยาวชนเข้า
สู่ระบบโรงเรียน ต้องได้รับการพัฒนาด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม และ
ศีลธรรม
แนวทางที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการทำงาน เพื่อรองรับการแข่งขัน
ของประเทศ เชื่อมโยงเศรษฐกิจและสังคมอย่างสมดุล เสริมทักษะการ
วิเคราะห์การทำงานเป็นทีม
แนวทางที่ 3 การเร่งสร้างกำลังคนที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ ด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน
ฐานความรู้ของประชากร
แนวทางที่ 4 การจัดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและหลากหลาย จำเป็นต้องมีการจัดการความรู้
ในระดับชุมชน ภูมิภาค และประเทศ ครอบคลุมหลายมิติ ทั้งภาคเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต ที่ครอบคลุมสุขภาพ การคุ้มครองทางสังคม
ความปลอดภัยในชีวิตและการจัดสวัสดิการด้วยกระบวนการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมความเข้มแข็งของชุมชน จะประกอบด้วยแนวทาง 4 แนวทาง
แนวทางที่ 1 การจัดการความรู้ และระบบการเรียนรู้ ของชุมชน อย่างครอบวงจร โดยเน้น
ให้ชุมชนมีโอกาสอย่างกว้างขวาง
แนวทางที่ 2 การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะบูรณาการกระบวนการผลิตบน
ศักยภาพ และความเข้มแข็งของชุมชนอย่างสมดุล เน้นการผลิตเพื่อการ
บริโภคอย่างพอเพียง
แนวทางที่ 3 การเสริมสร้างศักยภาพชุมชน ในการอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูลกัน
แนวทางที่ 4 พัฒนากลไกการขับเคลื่อน ดุลยภาพการพัฒนาชุมชน โดยใช้แผนแม่บท
ชุมชน เป็นกลไกที่สำคัญ และพัฒนาสื่อเพื่อการพัฒนาให้มากขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล และสามารถแข่งขันในช่วงทศวรรษ
แห่ง เอเชีย
ยุทธศาสตร์นี้มุ่งพัฒนาด้านการเงิน การคลัง และประสิทธิภาพการบริหารการเงิน
การคลัง ตลาดทุน สถาบันการเงิน การจัดเก็บรายได้และการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบนพื้นฐาน ความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงของ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีความได้เปรียบมากกว่า
หลายประเทศ จึงกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ขึ้นพร้อมกับการฟื้นฟูสภาพ ดิน น้ำ ป่า พื้นที่
ชายฝั่งทะเล และต้องเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน
กลไกต่างๆ ของรัฐ ต้องมีการปรับโครงสร้าง ให้มีการกระจาย การจัดสรรทรัพยากรสู่
ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน ด้วยระบบการบริหารยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ
สังคมไทยที่พึงปรารถนา
สังคม คือ การอยู่ร่วมกัน การอยู่ร่วมกันด้วยดีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ฉะนั้นคนไทยต้องร่วมคิด
ร่วมสร้างสังคม
ที่พึงปรารถนา
สังคมไทยที่พึงปรารถนา คือ สังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
สังคมที่ดีงามและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน หมายถึง สังคมแห่งความพอเพียงและสันติ มีเศรษฐกิจ
พอเพียง
ไม่ทอดทิ้งกัน มีความเป็นธรรม มีวัฒนธรรม มีคุณธรรม มีความเข้มแข็งทางสังคม และสามารถรักษาความ
สมดุลในตัวเอง
หลัก 8 ประการ แห่งสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
สังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มีหลัก 8 ประการ ตามภาพข้างล่าง ดังต่อไปนี้
1. เป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน 2. มีเศรษฐกิจพอเพียง 3. มีการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
4. มีการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 5. มีความเป็นธรรมทางสังคม
6. มีสันติภาพ 7. มีการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น 8. ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชีวิต “ชีวิตต้องรู้จักพอ” โดยธรรมชาติมนุษย์ มีปัญญามาก
มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การควบคุมความคิดให้รู้จักพอ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ผู้ที่ต้องการปฏิบัติตนอย่างเศรษฐกิจพอเพียง
• ต้องคิดให้ตรงกัน คือ ต้องรู้จักพอ เห็นความทุกข์ของการไม่รู้จักพอ ผู้รู้จักพอย่อมมี
ความสุขมากกว่า
ผู้ไม่รู้จักพอ ผู้ไม่รู้จักพอจะตื่นเต้นในการหาทรัพย์และใช้จ่ายทรัพย์ จนครอบครัวไม่อบอุ่น
แตกแยก พักผ่อน
ไม่พอ จิตกังวล นอนไม่หลับ
• คนคิด รู้จักพอ ชีวิตสงบสุข ครอบครัวอบอุ่น กินอร่อย หลับสนิท ไม่ทุรนทุรายกับการ
แสวงหาทรัพย์
อย่างไม่รู้จักพอ
5. ความเป็นธรรมทางสังคม
4. เคารพศักดิ์ศรีและ
คุณค่าแห่งความเป็นคน 6. สันติภาพ
3. ใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
สังคมอยู่เย็น
เป็นสขร่วมกัน 7. พัฒนา
จิตใจให้สูงขึ้น
2. เศรษฐกิจพอเพียง 1. ไม่ทอดทิ้งกัน 8. ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
และประชาสังคม
ลักษณะของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
1.) ต้องพึ่งตัวเองให้มากที่สุด 2.) ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดผลคุ้มค่าที่สุด
3.) ไม่ผลิตหรือบริโภคเกินกำลัง แสวงหาความพอเหมาะพอดีที่ได้สมดุล
4.) ต่างมีส่วนร่วม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ข้อดีของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
1. มีความเครียดน้อยกว่าการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจการตลาด เพราะมีภาวะ หนี้สินน้อย ไม่ต้อง
ทำงานเกินกำลัง
2. ไม่เกิดปัญหาเดือดร้อนจากปัจจัยภายนอก ราคาปุ๋ยแพงขึ้น ก็ไม่เดือดร้อน
3. เป็นอิสระจากอิทธิพลต่างประเทศ มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าเศรษฐกิจการตลาด
4. ไม่มีปัญหาการตกงาน
5. ปัจเจกบุคคลและสังคม สงบร่มเย็น แต่ละคนไม่เอาเปรียบกัน
6. ทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เพราะไม่เร่งการผลิต
แต่ที่สำคัญข้อเสียของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเศรษฐกิจการค้า ซึ่งทำให้การ
เติบโตทางวัตถุของแต่ละคน ครอบครัว และประเทศชาติช้า และทำให้ต้องหลุดจากกระแสการแข่งขันของ
โลก
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาต้องส่งเสริมความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิในครอบครัวและ
ชุมชน
2. รัฐจะต้องพัฒนากลไกเกี่ยวกับการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
3. รัฐจะต้องพัฒนาสถาบัน พัฒนาผู้นำชุมชนตัวแบบกลุ่มชุมชนต่างๆ ที่ดำเนินการด้านเศรษฐกิจ
พอเพียง ที่สำเร็จแล้ว เพื่อนำสู่การขยายผล
4. รัฐจะต้องส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนชุมชน โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการของแผน
5. รัฐจะต้องส่งเสริมการพัฒนาความสมดุลระหว่างวัตถุกับจิตใจ
6. รัฐจะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้หรือให้ชุมชนเรียนรู้ ด้านการดำเนินชีวิต
แบบเศรษฐกิจพอเพียง
7. รัฐจะต้องมีการส่งเสริมศึกษาตัวชี้วัดการพัฒนาที่หลากหลาย
8. รัฐควรสนับสนุนกระบวนการพัฒนาที่เป็นรูปแบบการทำงานแบบพหุภาคี ซึ่งเอาคนและ
ชุมชนเป็นศูนย์กลาง
9. ต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส มุ่งแก้ปัญหาอย่างครบ
10. รณรงค์ ส่งเสริม การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ในสถาบันการศึกษาและสถาบันทางศาสนา
อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในเชิงปฏิบัติ
1. ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนการรื้อฟื้น ฟื้นฟู และเพิ่มศักยภาพของครอบครัว ชุมชน ให้มี
ความเข้มแข็งสู่การพัฒนา การอยู่ดีมีสุข
2. ต้องร่วมกำหนดแนวทางการปฏิบัติการส่งเสริม การใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในหลาย
ระดับ ตั้งแต่ ปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน สถาบัน องค์กรประชาชน ภาคธุรกิจ
ประเทศชาติ
3. ต้องร่วมมือหลายฝ่าย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้มากขึ้น
4. ควรมีการเพิ่มเติมศึกษา วิจัย ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และควรศึกษา
แนวทางการพัฒนามนุษย์ การแก้ไขปัญหาสังคมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
อย่างไรก็ตามหากทุกคนเริ่มต้นที่ตนเองน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับตนเองใน
การดำรงชีวิตแล้ว ขยายผลสู่คนใกล้ชิด ครอบครัว เพื่อนบ้าน แล้วสู่ชุมชน ในที่สุดสังคมนั้นๆ ร่วมมือกันยึดถือ
เป็นแนวปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป สังคมนั้นๆ ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็น มีความเข้มแข็ง ปราศจากปัญหา
สังคม มีเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสุขอย่างที่ไม่ต้องเบียดเบียนใคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น